ขั้นตอนการทำเลือดจระเข้แคปซูล
ก่อนจะมาเป็นเลือดจระเข้แคปซูล
-
คัดเลือกจระเข้ที่มีสุขภาพดี แข็งแรง จากฟาร์มเพาะเลี้ยงที่ได้รับการอนุญาตจาก กรมประมง อายุอย่างน้อย 3 ปี ขนาดความยาวไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
-
เจาะเก็บเลือดจระเข้ปริมาณมาก ทำความสะอาดบริเวณที่เจาะด้วย 70% แอลกอฮอล เจาะเก็บเลือดโดยใช้อุปกรณ์และขวดโพลีโพรปิลีนที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรค และภาชนะเก็บเลือดมีลักษณะปิด เพื่อให้ได้เลือดปริมาณมากที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อนของแบคทีเรีย
-
นำเลือดจระเข้ที่ได้มาทำการฆ่าเชื้อ ด้วยวิธี Pasturization ด้วย water bath ที่ 63 องศาเซลเซียส 30 นาที
-
นำเลือดจระเข้มาทำระเหิดแห้งโดยใช้ Freeze-drier or lyophilizer (ที่อุณหภูมิ -50 องศาเซลเซียส) เพื่อรักษาคุณภาพขององค์ประกอบโปรตีนที่สำคัญในเลือดจระเข้
-
นำเลือดจระเข้ระเหิดแห้ง มาบดให้ละเอียด โดยใช้โถบดสแตนเลส ที่ผ่านการฆ่าเชื้อ และบรรจุใน แคปซูล ภายในตู้ควบคุมการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย
-
บรรจุใส่ขวดพีวีซีสีชาเพื่อป้องกันแสงและความร้อน
-
ตรวจสอบคุณภาพ โดยหาค่าเฉลี่ยน้ำหนักเลือดแห้งต่อแคปซูล ปริมาณแบคทีเรียที่ปนเปื้อน
ฟรีซดราย (Freeze Dried) คืออะไร?
เทคโนโลยีการทำแห้งเยือกแข็งแบบสูญญากาศ หรือศัพท์ทางภาษาอังกฤษที่เรียกว่า “ฟรีซดราย” (Freeze dried Technology) หมายถึงการทำแห้ง (dehydration) ด้วยการแช่เยือกแข็ง (freezing) ทำให้น้ำเปลี่ยนสถานะเป็นผลึกน้ำแข็งก่อน แล้วจึงลดความดันเพื่อให้ผลึกน้ำแข็งระเหิด (sublimation) เป็นไอ ด้วยการลดความดันให้ต่ำกว่าบรรยากาศปกติ ขณะควบคุมให้อุณหภูมิต่ำ (ที่อุณหภูมิ เท่ากับหรือ ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส น้ำแข็งระเหิดที่ความดันเท่ากับ 4.7 มิลลิเมตรปรอทหรือต่ำกว่า)
ขั้นตอนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง
ขั้นตอนเบื้องต้นสำหรับการผลิตอาหารด้วยวิธีการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง ก็เหมือนกับการผลิตอาหารแห้งโดยทั่วไป คือเริ่มจาการเตรียมวัตถุดิบให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เช่น การล้าง การปอกเปลือก การลดขนาดจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการหลักซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ
-
การแช่เยือกแข็ง (freezing) เป็นการลดอุณหภูมิของอาหารให้ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (freezing point) เพื่อให้เกิดผลึกน้ำแข็ง (ice crystal formation) อัตราเร็วของการแช่เยือกแข็ง (freezing rate) ควรเป็นการแช่เยือกแข็งแบบเร็ว เพื่อให้เกิดผลึกและผลึกที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเล็ก การแช่เยือกแข็งแบบเร็ว ที่นิยมใช้กันมีหลายวิธี เช่น การแช่เยือกแข็งแบบใช้ลมเย็นเป่า (air blast freezing) การแช่เยือกแข็งแบบไครโอเจน (cryogenic freezing) และการแช่เยือกแข็งแบบจุ่มในของเหลวเย็นจัด (immersion freezing) เป็นต้น
-
การทำแห้งขั้นต้น (primary drying) เป็นการลดปริมาณน้ำ (dehydration) โดยการระเหิด น้ำแข็งให้เป็นไอโดยการลดความดันบรรยากาศ เพื่อให้ผลึกน้ำแข็งที่อยู่ภายในเกิดการระเหิดเป็นไอ ออกไปจากผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ ระดับของสุญญากาศ (vacuum) ควรอยู่ต่ำกว่า 132 Pa และ 132 mPa ตามลำดับ การระเหิดของผลึกน้ำแข็งจึงเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์การระเหิดของชั้นน้ำแข็ง (ice layer) จะเริ่มจากชั้นน้ำแข็งบริเวณผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ ระเหิดไปเป็นไอ ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นชั้นแห้ง (dry layer) จากนั้น เป็นการระเหิดของชั้นน้ำแข็งที่อยู่ภายในผลิตภัณฑ์ ระเหิดผ่านชั้นแห้ง ออกไปสู่ผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาการระเหิด ขึ้นอยู่กับ ขนาด รูปร่าง และโครงสร้างของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด
-
การทำแห้งขั้นที่สอง (secondary drying) เมื่อการทำแห้งขั้นต้นเสร็จสมบูรณ์ น้ำแข็งจะละลายไปหมด จะมีความชื้นที่หลงเหลืออยู่ จึงต้องมีการทำแห้งด้วยการเพื่ออุณหภูมิให้สูงขึ้น เพื่อดึงเอาความชื้นที่เหลืออยู่ออกถึงระดับความชื้นที่ปลอดภัย